วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

22.ภาคผนวก (Appendix) (ถ้ามี)

22.ภาคผนวก (Appendix) (ถ้ามี)
บุญชม  ศรีสะอาด  (2554:199)  ได้กล่าวไว้ว่า  ในงานวิจัยบางเรื่องจะมีภาคผนวก ซึ่งเป็นเนื้อหาใจความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องทางใดทางหนึ่งที่เป็นส่วนเสริมให้เนื้อเรื่องมีรายละเอียดกว้างขวางยิ่งขึ้น หรือเป็นส่วนที่แสดงหลักฐานต่างๆ ในการวิจัย ส่วนที่เป็นภาคผนวกอาจได้แก่แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบวัดต่างๆ จดหมาย ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ เครื่องมือในการวิจัย เป็นต้น แต่ไม่ใช่เนื้อหาของรายงานการวิจัย เอกสารใดๆ ก็ดีที่จะบรรจุลงในภาคผนวกนี้ ควรจะทำให้มีขนาดเดียวกับขนาดของกระดาษที่ใช้ ซึ่งอาจใช้วิธีถ่ายเอกสาร หรือพับเอกสารนั้นๆ และควรเว้นเนื้อที่กระดาษเผื่อไว้สำหรับการเย็บเข้าเล่มด้วย กรณีที่มีหลายประเภทควรแยกเป็นภาคผนวก ก. ภาคผนวก ข. ไปตามลำดับ
ภาคผนวกจะมีหรือไม่ แล้วแต่ความจำเป็น ถ้าไม่ต้องจัดไว้ในหน้าต่อไปจากบรรณานุกรม การที่ต้องจัดข้อความบางอย่างไว้ในภาคผนวกนั้นก็เพื่อป้องกันมิให้เนื้อเรื่องของบทนิพนธ์สับสนเกินไป
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ (2555:100)  ได้กล่าวไว้ว่า ภาคผนวก ส่วนนี้เป็นส่วนที่ให้รายละเอียดของการวิเคราะห์ข้อมูล สูตรต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล รายละเอียดของการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนภาคผนวกนี้อาจจะไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานวิจัยแต่ละเรื่อง ซึ่งในส่วนของภาคผนวกนี้อาจจะประกอบด้วยภาคผนวกย่อย ๆ หลายส่วนได้ การเริ่มภาคผนวกย่อยทุกครั้งให้ขึ้นหน้าใหม่
พิสณุ ฟองศรี (2549:63) ได้กล่าวไว้ว่า ส่วนใหญ่ภาคผนวกจะเขียนในรายงานการวิจัย โดยทั่วไปจะมีการเพิ่มจากเค้าโครงการวิจัย เช่น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ผลการทดลองใช้เครื่องมือ รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล รายชื่อผู้เก็บข้อมูล รายละเอียดผลการวิเคราะห์ข้อมูล คำสั่งโปรแกรมวิเคราะห์ ระเบียบ กฎหมาย และภาพถ่าย เป็นต้น ถ้ามีสาระในส่วนนี้มากควรแบ่งเป็นผนวก ก ข ... ตามลำดับ
สรุป
 ในงานวิจัยบางเรื่องจะมีภาคผนวก ซึ่งเป็นเนื้อหาใจความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องทางใดทางหนึ่งที่เป็นส่วนเสริมให้เนื้อเรื่องมีรายละเอียดกว้างขวางยิ่งขึ้น หรือเป็นส่วนที่แสดงหลักฐานต่างๆ ในการวิจัย ส่วนที่เป็นภาคผนวกอาจได้แก่แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบวัดต่างๆ จดหมาย ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ เครื่องมือในการวิจัย เป็นต้น แต่ไม่ใช่เนื้อหาของรายงานการวิจัย เอกสารใดๆ ก็ดีที่จะบรรจุลงในภาคผนวกนี้ ควรจะทำให้มีขนาดเดียวกับขนาดของกระดาษที่ใช้ ซึ่งอาจใช้วิธีถ่ายเอกสาร หรือพับเอกสารนั้นๆ และควรเว้นเนื้อที่กระดาษเผื่อไว้สำหรับการเย็บเข้าเล่มด้วย กรณีที่มีหลายประเภทควรแยกเป็นภาคผนวก ก. ภาคผนวก ข. ไปตามลำดับ
ที่มา :
บุญชม  ศรีสะอาด.  (2554).  การวิจัยเบื้องต้น.  (พิมพ์ครั้งที่ 9).  กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ.  (2555).  เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัยการศึกษา.
พิสณุ ฟองศรี. (2549). วิจัยชั้นเรียน หลักการและเทคนิคปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: ห้าง
         หุ้นส่วนจำกัด พิมพ์งาม.

21.เอกสารอ้าอิง (References)

21.เอกสารอ้าอิง (References)
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ (2555:100)  ได้กล่าวไว้ว่า เอกสารอ้างอิง เป็นส่วนที่ประกอบด้วยรายการเอกสารต่าง ๆ ที่ได้อ้างอิงไว้ในวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัยเอกสารทุกเล่มที่อ้างอิงไว้ในภาคเนื้อหาจะต้องปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิงการจัดลำดับของเอกสารอ้างอิง นั้นจัดลำดับตามตัวอักษรของผู้แต่ง ซึ่งถ้าในภาษาไทยจะเป็นชื่อต้น ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศจะเป็นชื่อท้าย (สกุล) จัดลำดับภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาต่างประเทศ
บุญชม  ศรีสะอาด  (2554:193)  ได้รวบรวมไว้ว่า เอกสารอ้างอิง เป็นรายชื่อหนังสือหรือแหล่งความรู้ที่ผู้วิจัยใช้ศึกษาค้นคว้าเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง แหล่งความรู้ดังกล่าวรวมทั้งสิ่งตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์ เช่น วารสาร จุลสาร หนังสือพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ การสัมภาษณ์ เป็นต้น เอกสารอ้างอิงนี้จัดไว้ในส่วนท้ายของรายงานการวิจัย น้องจากเป็นการแสดงคารวะต่อผู้ที่ผลิตแหล่งความรู้ต่างๆ ให้คนอื่นๆ ได้ใช้ศึกษาแล้วยังเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม หรือตรวจสอบหลักฐานอ้างอิงต่อไปได้
นพเก้า ณ พัทลุง (2548:47) ได้กล่าวไว้ว่า ผู้วิจัยต้องอ้างอิงเอกสารที่นำมาใช้ในงานวิจัยเพื่อให้เกียรติแก่ผู้ที่อ้างถึงและถือเป็นจรรยาบรรณในการวิจัยอีกด้วย รูปแบบการเขียนมีหลายลักษณะด้วยกัน ทั้งนี้ผู้วิจัยสามารถเลือกรูปแบบใดก็ได้ แต่ให้เป็นแบบเดียวกันทั้งฉบับ ซึ่งอาจค้นคว้าได้จากคู่มือการพิมพ์รายงานการวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ หรือคู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ
สรุป
 เอกสารอ้างอิงคือ การนำเอกสารที่ใช้ในงานวิจัยมาเขียน ได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อให้เกียรติแก่ผู้ที่อ้างถึงและถือเป็นจรรยาบรรณในการวิจัยอีกด้วย รูปแบบการเขียนมีหลายลักษณะด้วยกัน ทั้งนี้ผู้วิจัยสามารถเลือกรูปแบบใดก็ได้ แต่ให้เป็นแบบเดียวกันทั้งฉบับ
ที่มา :
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ.  (2555).  เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัยการศึกษา.
บุญชม  ศรีสะอาด.  (2554).  การวิจัยเบื้องต้น.  (พิมพ์ครั้งที่ 9).  กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 
นพเก้า ณ พัทลุง.  (2548).  การวิจัยในชั้นเรียน หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 1) :
         คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.


20. งบประมาณ (Budget)

20. งบประมาณ (Budget)
ภัทรา นิคมานนท์ (2542:67) ได้กล่าวไว้ว่า ผู้วิจัยจะต้องคำนวณงบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการทำวิจัยตลอดโครงการตามความเป็นจริงเพื่อจะได้จัดเตรียมไว้ลวงหน้าเพื่องานวิจัยจะได้ไม่ชะงักภายหลัง

พิสณุ ฟองศรี (2549:50) ได้กล่าวไว้ว่า งบประมาณเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการวิจัย ถ้าเป็นการเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนจากแหล่งต่างๆ ก็ต้องกำหนดงบประมาณให้พอเหมาะ เพราะถ้ากำหนดน้อยเกินไปจะทำให้ใช้จ่ายไม่พอ แต่ถ้ามากเกินไปอาจไม่ได้รับทุนต้องคิดคำนวณให้รอบคอบ

http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้รวบรวมไว้ว่า งบประมาณ (budget) คือ  การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรบ่างเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
        12.1 เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
        12.2 ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
        12.3 ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
        12.4 ค่าครุภัณฑ์
        12.5 ค่าประมวลผลข้อมูล
        12.6 ค่าพิมพ์รายงาน
        12.7 ค่าจัดประชุมวิชาการ  เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบ
                  โครงการแล้ว
        12.8 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
        อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกำหนดรายละเอียดของการเขียนงบประมาณแตกต่างกัน  ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของแหล่งทุนที่ตนต้องการขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อโครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย  เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนก็จะมีน้อยมาก
 สรุป
งบประมาณเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการวิจัย  ผู้วิจัยจะต้องคำนวณงบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการทำวิจัยตลอดโครงการตามความเป็นจริงเพื่อจะได้จัดเตรียมไว้ลวงหน้าเพื่องานวิจัยจะได้ไม่ชะงักภายหลัง ถ้าเป็นการเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนจากแหล่งต่างๆ ก็ต้องกำหนดงบประมาณให้พอเหมาะ เพราะถ้ากำหนดน้อยเกินไปจะทำให้ใช้จ่ายไม่พอ แต่ถ้ามากเกินไปอาจไม่ได้รับทุนต้องคิดคำนวณให้รอบคอบ
ที่มา
พิสณุ ฟองศรี. (2553). วิจัยทางการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 7).กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
ภัทรา นิคมานนท์.(2542).ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย.(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ:อักษราพิพัฒน์.
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2555.

19. การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration &Time Schedule)

19. การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration &Time Schedule)
ภิรมย์ กมลรัตนกุล (2531 : 8) ได้กล่าวไว้ว่า การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน ดังนี้
1.วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
2. กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
2.1 ขั้นเตรียมการ
- ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
- ติดต่อผู้นำชุมชน
- การเตรียมชุมชน
- การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
- การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
- การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
- การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
- การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
2.2 ขั้นปฏิบัติงาน
- ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
- ขั้นการเขียนรายงาน
3. ทรัพยากรที่ต้องการของแต่ละกิจกรรมรวมทั้งเวลาที่ใช้
4. การ ดำเนินงาน ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูลสำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
ก. การจัดองค์กร เช่น การกำหนดหน้าที่ของคณะผู้ร่วมวิจัยแต่ละคนให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหาและการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
ข. การสั่งงาน ได้แก่ การมองหมายงาน การควบคุม เป็นต้น
ค. การควบคุมการจัดองค์กร นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานเพื่อใช้ในการสั่งการ และควบคุมคุณภาพของงานโดยอาจทำเป็น แผนภูมิการสั่งการเพื่อวางโครงสร้างของทีมงานวิจัย กำหนดขอบเขตหน้าที่ตลอดจนติดตามประเมินผลให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือทำเป็น แผนภูมิเคลื่อนที่
ง. การควบคุมโครงการ เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงานซึ่งเป็นตารางกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานของแต่ละ กิจกรรมเพื่อช่วยให้การควบคุมเวลาและแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจ ช่วยกระตุ้นให้ผู้วิจัยทำเสร็จทันเวลา ตารางปฏิบัติงานจะดูความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมที่จะปฏิบัติและระยะเวลาของ แต่ละกิจกรรม โดยแนวนอนจะเป็นระยะเวลาที่ใช้ของแต่ละกิจกรรม ส่วนแนวตั้งจะเป็น กิจกรรมต่าง ๆที่ได้กำหนดไว้ จากนั้นจึงใช้แผนภูมิแท่งในการแสดงความสัมพันธ์นี้
จ. การนิเทศงาน ได้แก่ การแนะนำ ดูแล แก้ไขซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมงานให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง
เสนาะ ติเยาว์ (2544 : 1) ได้กล่าวไว้ว่า การบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2545 : 728)ได้กล่าวไว้ว่า การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง
สรุป
การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง
ที่มา :
เสนาะ ติเยาว์.  (2544).  หลักการบริหาร.  พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว.  (2545).  ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม.  พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร :
         สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย.
ภิรมย์ กมลรัตนกุล.  (2544). หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. กรุงเทพมหานคร : เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเค
        ชั่น.จำกัด.


18.อุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข

18.อุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข
พิสณุ ฟองศรี (2549:51) ได้กล่าวไว้ว่า นักวิจัยที่มีประสบการณ์จะทราบถึงอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นทั้งปัญหาที่คาดการณ์ได้ล่วงหน้า และคาดการณ์ไม่ได้ ในกรณีนิสิตนักศึกษาถ้าได้พบปะอาจารย์ที่ปรึกษาสม่ำเสมอ โอกาสจะประสบปัญหาจนแก้ไม่ได้จะลดน้อยลง
ภิรมย์ กมลรัตนกุล (2531:8) ได้กล่าวไว้ว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้
แนวทางการแก้ไข
นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการ อย่าให้ "ความเป็นไปได้" มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม (2538:6) ได้กล่าวไว้ว่า อุปสรรคในการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
1) ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นกำลังหลัก 16,351 - 19,115 คน
สามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1 เท่านั้น
2) ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย
3) มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย
4) นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย
5) ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย
แนวทางการแก้ไข
1) กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ
2) สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ
3) ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ
4) ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ
5) มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง
สรุป 
นักวิจัยที่มีประสบการณ์จะทราบถึงอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นทั้งปัญหาที่คาดการณ์ได้ล่วงหน้า และคาดการณ์ไม่ได้ นักวิจัยต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้

ที่มา :
พิสณุ  ฟองศรี.  (2553).  วิจัยทางการศึกษา. ( พิมพ์ครั้งที่ 7).  กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
ภิรมย์  กมลรัตนกุล.  (2531).  หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย.  กรุงเทพมหานคร : หอสมุดกลาง.
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม.  (2538).  หลักการ แนวคิดและรูปแบบเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพ
         มหานคร : บพิธการพิมพ์.


17.ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits & Application)

17.ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits & Application)
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/impact1.htm  ได้รวบรวมไว้ว่า
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย เป็นความสำคัญของการวิจัยที่ผู้วิจัยพิจารณาว่าการวิจัยเรื่องนั้น  ทำให้ทราบผลการวิจัยเรื่องอะไร และผลการวิจัยนั้นมีประโยชน์ต่อใคร อย่างไร เช่น การระบุประโยชน์ที่เกิดจากการนำผลการวิจัยไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ หรือนำไปเป็น แนวทางในการปฏิบัติ หรือแก้ปัญหา หรือพัฒนาคุณภาพ หลักในการเขียนมีดังนี้
1. ระบุประโยชน์ที่อาจเกิดจากผลที่ได้จากการวิจัย
2. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และอยู่ในขอบเขตของการวิจัยที่ได้ศึกษา
3. ในกรณีที่ระบุประโยชน์มากกว่า 1 ประการ ควรระบุเป็นข้อ
4. เขียนด้วยข้อความสั้น กะทัดรัด ชัดจน
5. การระบุนั้นผู้วิจัยต้องตระหนักว่ามีความเป็นไปได้
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ (2555:4)  ได้กล่าวถึง  หลักการเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับการวิจัย มีดังนี้
1  เป็นการกล่าวถึงผลที่ได้รับจากการวิจัย จะนำมาใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติจริงสำหรับใคร  อย่างไร
2  ผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการอย่างไร
3  เป็นแนวทางที่จะใช้ในการวิจัยในเรื่องอื่น ๆ ได้อย่างไร
บุญชม  ศรีสะอาด  (2554:19)  ได้กล่าวไว้ว่า ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ในการทำวิจัยแต่ละเรื่องจะต้องทราบว่าเมื่อทำวิจัยเสร็จแล้วจะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างไร ประโยชน์ของการวิจัย อาจใช้ได้ลักษณะ เช่น บางหน่วยงานอาจจะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย ปรับปรุงการเรียนการสอน ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจแก้ปัญหาที่กำลังประสบหรือทำข้อเสนอแนะ เป็นต้น
สรุป
                ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ในการทำวิจัยแต่ละเรื่องจะต้องทราบว่าเมื่อทำวิจัยเสร็จแล้วจะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างไร ประโยชน์ของการวิจัย อาจใช้ได้ลักษณะ เช่น บางหน่วยงานอาจจะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย ปรับปรุงการเรียนการสอน ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจแก้ปัญหาที่กำลังประสบหรือทำข้อเสนอแนะหลักในการเขียนมีดังนี้

1. ระบุประโยชน์ที่อาจเกิดจากผลที่ได้จากการวิจัย
2. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และอยู่ในขอบเขตของการวิจัยที่ได้ศึกษา
3. ในกรณีที่ระบุประโยชน์มากกว่า 1 ประการ ควรระบุเป็นข้อ
4. เขียนด้วยข้อความสั้น กะทัดรัด ชัดจน
5. การระบุนั้นผู้วิจัยต้องตระหนักว่ามีความเป็นไปได้
ที่มา:
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/impact1.htm  เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2555.
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ.  (2555).  เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เค้าโครงการวิจัย. 
บุญชม  ศรีสะอาด. (2554) . การวิจัยเบื้องต้น . (พิมพ์ครั้งที่ 9) .กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.



16.ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation)/ขอบเขตการทำวิจัย

16.ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation)/ขอบเขตการทำวิจัย
                รวีวรรณ  ชินะตระกูล (2538:51) ได้กล่าวไว้ว่า การทำวิจัยแต่ละเรื่องควรกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้ชัดเจน เพื่อให้งานวิจัยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้และลักษณะของปัญหาที่ต้องการวิจัย ซึ่งได้แก่ การกำหนดขนาดและลักษณะของตัวอย่างประชากร การกำหนดชนิดของเครื่องมือ รวมทั้งลักษณะและขอบเขตของเนื้อหาในเครื่องมือที่ใช้สำหรับงานวิจัย การกำหนดขอบเขตเรื่องที่ศึกษาว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่ต้องการศึกษา
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ (2555:4)  ได้กล่าวไว้ว่า การกำหนดขอบเขตของการวิจัย เป็นการขีดวงจำกัดของการวิจัยว่ามีขอบเขตกว้างขวางลึกซึ้ง  มากน้อยเพียงใด ครอบคลุมถึงอะไรบ้าง  เป็นการกล่าวถึงขอบเขตของประเด็นปัญหาที่ต้องการวิจัย   ทำให้ประเด็นปัญหาชัดเจนขึ้น  การเขียนขอบเขตของการวิจัยควรระบุขอบเขตต่อไปนี้  เช่น
1  ขอบเขตกลุ่มเป้าหมาย  (คือ ประชากร  บางหน่วยงาน/สถาบันให้ระกลุ่มตัวอย่าง)
2  ขอบเขตเนื้อหา  เช่น  วิชาและ/หรือเรื่อง/หัวข้อที่ศึกษา    
3  ขอบเขตพื้นที่หรือสถานที่ทำการวิจัย
4  ขอบเขตเวลา คือ ระยะเวลาการวิจัย  ระยะเวลาการทดลอง 
5  ขอบเขตอื่นๆ  เช่น  การวิเคราะห์ข้อมูล  การใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูล

บุญชม  ศรีสะอาด  (2554:18)  ได้กล่าวไว้ว่า ในการกำหนดปัญหาการวิจัยให้มีความชัดเจนนั้นผู้วิจัยจำเป็นต้องพิจารณากำหนดขอบเขตของปัญหาหรือขอบเขตของ การศึกษาในแง่มุมต่างๆ ด้วยเช่น
1.ขอบเขตของประชากร ซึ่งอาจเกี่ยวกับชนิดของประชากร แหล่งที่มา ประชากร ขนาดประชากร เช่นประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 10
2.ขอบเขตของตัวแปรที่ศึกษา ซึ่งอาจเกี่ยวกับชนิดของตัวแปร โครงร้างหรือองค์ประกอบของตัวแปร เช่น สมรรถภาพของครูคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ด้านความรู้ความเข้าใจเนื้อหาสาระวิชา ด้านความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนการสอน ด้านความสามารถในการสอนและด้านบุคลิกภาพ
3.ขอบเขตของระยะเวลาที่ศึกษา เป็นการกำหนดช่วงเวลาของเรื่องหรือเหตุการณ์ ที่ต้องการศึกษา เช่น การศึกษาครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลในช่วงเดือน กรกฎาคม-กันยายน พ.ศ.2541
สรุป
                การทำวิจัยแต่ละเรื่องควรกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้ชัดเจน เพื่อให้งานวิจัยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้และลักษณะของปัญหาที่ต้องการวิจัย ซึ่งได้แก่ การกำหนดขนาดและลักษณะของตัวอย่างประชากร การกำหนดชนิดของเครื่องมือ รวมทั้งลักษณะและขอบเขตของเนื้อหาในเครื่องมือที่ใช้สำหรับงานวิจัย การกำหนดขอบเขตเรื่องที่ศึกษาว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่ต้องการศึกษา
การเขียนขอบเขตของการวิจัยควรระบุขอบเขตต่อไปนี้  เช่น
1  ขอบเขตกลุ่มเป้าหมาย  (คือ ประชากร  บางหน่วยงาน/สถาบันให้ระกลุ่มตัวอย่าง)
2  ขอบเขตเนื้อหา  เช่น  วิชาและ/หรือเรื่อง/หัวข้อที่ศึกษา    
3  ขอบเขตพื้นที่หรือสถานที่ทำการวิจัย
4  ขอบเขตเวลา คือ ระยะเวลาการวิจัย  ระยะเวลาการทดลอง 
5  ขอบเขตอื่นๆ  เช่น  การวิเคราะห์ข้อมูล  การใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูล
ที่มา:
รวีจรรณ  ชินะตระกูล. (2538).วิธีวิจัยการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ.  (2555).  เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เค้าโครงการวิจัย. 
บุญชม  ศรีสะอาด. (2554) . การวิจัยเบื้องต้น . (พิมพ์ครั้งที่ 9) .กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.