วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

8. ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption) (ถ้ามี)

8. ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption) (ถ้ามี)
                รวีวรรณ  ชินะตระกูล (2538:41) ได้กล่าวไว้ว่า ข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัย (ถ้ามีให้ระบุ) การทำวิจัยแต่ละเรื่อง ผู้วิจัยต้องตกลงไว้ก่อนว่าในการทำวิจัยของตนมีอะไรบ้างเชื่อว่าเป็นไปได้ทั้งๆที่ไม่ได้ทดลอง หรือไม่ได้หาค่ามาแสดง ควรมีเหตุผลมารองรับข้อตกลงเบื้องต้น ในบางครั้งระเบียบวิธีสถิติที่ผู้วิจัยจะนำมาใช้ในการวิจัย มีการกำหนดลักษณะของข้อมูลดังเช่น ก.ต้องเป็นข้อมูลที่นำมาแจกแจงแล้วเป็นโค้งปกติ ข.ต้องสัมพันธ์กันเป็นเส้นตรง ค.บางครั้งผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ ทั้งๆที่ผู้วิจัยก็พยายามแล้ว จึงจำเป็นต้องเชียนข้อตกลงเบื้องต้นไว้ชัดเจน
พิสณุ ฟองศรี (2549:32) ได้กล่าวไว้ว่า เป็นข้อความที่แสดงความคิด ซึ่งได้รับการยอมรับโดยไม่ต้องพิสูจน์ มีลักษณะเป็นเงื่อนไขที่สมเหตุสมผลที่ยอมรับได้

ภัทรา นิคมานนท์ (2542:50) ได้กล่าวไว้ว่า เป็นข้อความที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความเข้าใจระหว่างผู้อ่านกับผู้ทำวิจัย ข้อตกลงจะต้องเป็นความจริงที่ไม่ต้องมีการพิสูจน์ โครงการวิจัยบางเรื่องอาจไม่จำเป็นต้องมีข้อตกลงเบื้องต้น หากคิดว่าผู้อ่านรายงานการวิจัยแล้วจะมีความเข้าใจตรงกันกับผู้วิจัย
สรุป
                ข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัย  การทำวิจัยแต่ละเรื่อง ผู้วิจัยต้องตกลงไว้ก่อนว่าในการทำวิจัยของตนมีอะไรบ้างเชื่อว่าเป็นไปได้ทั้งๆที่ไม่ได้ทดลอง หรือไม่ได้หาค่ามาแสดง ควรมีเหตุผลมารองรับข้อตกลงเบื้องต้น ในบางครั้งระเบียบวิธีสถิติที่ผู้วิจัยจะนำมาใช้ในการวิจัย มีการกำหนดลักษณะของข้อมูล โครงการวิจัยบางเรื่องอาจไม่จำเป็นต้องมีข้อตกลงเบื้องต้น หากคิดว่าผู้อ่านรายงานการวิจัยแล้วจะมีความเข้าใจตรงกันกับผู้วิจัย
ที่มา:
รวีจรรณ  ชินะตระกูล. (2538).วิธีวิจัยการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
พิสณุ ฟองศรี.  (2549).  วิจัยชั้นเรียน หลักการและเทคนิคปฏิบัติ.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ : ห้างหุ้น
          ส่วนจำกัด พิมพ์งาม.
ภัทรา นิคมานนท์.  (2542).  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น