วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

12.ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)

12.ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)
          สุรเชษฎ์  (http://www.gotoknow.org/posts/452402 )ได้รวบรวมไว้ว่า ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) ประกอบด้วย
          12.1 ประชากร (population) และตัวอย่าง (sample) มีรายละเอียดในเรื่อง
                 1) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกประชากรและตัวอย่าง ทั้งกฎเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้ามาศึกษา(inclusion criteria) และกฎเกณฑ์ในการตัดออกจากการศึกษา (exclusion criteria)
                 2) เทคนิคในการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหรือไม่อาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น
                 3) การคำนวณขนาดตัวอย่าง ขนาดตัวอย่างที่คำนวณได้จะเป็นจำนวนตัวอย่างที่น้อยที่สุดที่สามารถตอบคำถามหลักของการวิจัยนั้น
          12.2 การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement)
                 1) ตัวแปรและคำนิยามเชิงปฏิบัติ
                 2) เครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปร
          12.3 วิธีการหรือสิ่งแทรกแซง (Intervention) กรณีเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ควรอธิบายให้ละเอียดว่าใคร ทำอะไร ให้แก่ใคร ด้วยวิธีการอย่างไร ระยะเวลาที่ให้สิ่งแทรกแซง
               http://www.gotoknow.org/posts/375613 ได้รวบรวมไว้ว่า ระเบียบวิธีวิจัย หมายถึง กระบวนทัศน์ (Paradigm) ทฤษฎี หลักการ และกระบวนการดำเนินงานทุกขั้นตอน จึงครอบคลุมไปถึงวิธีการและเทคนิคของการวิจัย (ระเบียบวิธีการวิจัยหนึ่งอาจจะใช้เทคนิคหรือวิธีการได้หลายแบบนะครับ) ด้วย ซึ่งวิธีการหรือเทคนิคการวิจัยเป็นเรื่องของการทำกิจกรรมขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการวิจัยเท่านั้น
http://netisak.lpru.ac.th/itech_km/ind_research_sec02.pdf ได้รวบรวมไว้ว่า ระเบียบวิธีวิจัย คือวิธีการวิจัยต่าง ๆ ที่ยอมรับกันอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นผลงานของการวิวัฒนาการจากอดีตมาเป็นลำดับและเป็นที่ยอมรับกันว่า ไม่มีระเบียบวิธีการวิจัยอันหนึ่งอันใดที่ดีที่สุดสำหรับทุกปัญหา ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของของผู้วิจัยเองว่าจะต้องใช้ระเบียบวิธีการใด โดยพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมแก่ชนิดของปัญหา และในหลายกรณีที่ผู้วิจัยต้องใช้หลาย ๆ ระเบียบวิธีควบกันเพื่อขบแก้ปัญหาแต่ละอัน Flippo ได้จำแนกวิธีการวิจัยออกได้เป็น 5 วิธี คือ การทดลองเปรียบเทียบ การสำรวจ การศึกษาสืบประวัติ การศึกษาจากกรณี และสภาพการเลียนแบบจริง
สรุป
ระเบียบวิธีวิจัย คือวิธีการวิจัยต่าง ๆ ที่ยอมรับกันอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นผลงานของการวิวัฒนาการจากอดีตมาเป็นลำดับและเป็นที่ยอมรับกันว่า ไม่มีระเบียบวิธีการวิจัยอันหนึ่งอันใดที่ดีที่สุดสำหรับทุกปัญหา ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของของผู้วิจัยเองว่าจะต้องใช้ระเบียบวิธีการใด โดยพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมแก่ชนิดของปัญหา ซึ่งระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) ประกอบด้วย
          12.1 ประชากร (population) และตัวอย่าง (sample) มีรายละเอียดในเรื่อง
                 1) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกประชากรและตัวอย่าง ทั้งกฎเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้ามาศึกษา(inclusion criteria) และกฎเกณฑ์ในการตัดออกจากการศึกษา (exclusion criteria)
                 2) เทคนิคในการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหรือไม่อาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น
                 3) การคำนวณขนาดตัวอย่าง ขนาดตัวอย่างที่คำนวณได้จะเป็นจำนวนตัวอย่างที่น้อยที่สุดที่สามารถตอบคำถามหลักของการวิจัยนั้น
          12.2 การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement)
                 1) ตัวแปรและคำนิยามเชิงปฏิบัติ
                 2) เครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปร
          12.3 วิธีการหรือสิ่งแทรกแซง (Intervention) กรณีเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ควรอธิบายให้ละเอียดว่าใคร ทำอะไร ให้แก่ใคร ด้วยวิธีการอย่างไร ระยะเวลาที่ให้สิ่งแทรกแซง
ที่มา:
สุรเชษฎ์. ( http://www.gotoknow.org/posts/452402 ).การเขียนโครงร่างการวิจัย. เข้าถึงเมื่อ 25
           ธันวาคม   2555.
 http://www.gotoknow.org/posts/375613 เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2555.
http://netisak.lpru.ac.th/itech_km/ind_research_sec02.pdf  เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2555.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น