วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

5.วัตถุประสงค์ของการวิจัย

5.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
http://rforvcd.wordpress.com  ได้รวบรวมไว้ว่า การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย เป็นการบอกให้ทราบว่า การวิจัยนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะได้คำตอบอย่างไร และต้องสอดคล้องกับปัญหาการวิจัย ตัวอย่างเช่นชื่อวิจัยเรื่อง การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้โทรศัพท์มือถือวัตถุประสงค์  
1) หาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้โทรศัพท์มือถือ
2) เปรียบเทียบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้โทรศัพท์มือถือ จำแนกตามอาชีพ
ดังนั้น การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยจึงเป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้างในเรื่องที่จะทำวิจัย จึงต้องกำหนดให้ชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึงสิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
ลัดดาวัลย์  เพชรโรจน์ และอัจฉรา  ชำนิประศาสน์ (2547:46 - 47) ได้กล่าวไว้ การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นการบอกให้ทราบว่า การวิจัยนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะได้คำตอบอย่างไร ดังนั้นการกำหนดวัตถุประสงค์จึงต้องสอดคล้องกับปัญหาของการวิจัย ซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์นี้จะเป็นการตอบคำถามของการวิจัยด้วย ซึ่งเกณฑ์การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยมีดังนี้
1.   ต้องเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral objective) ที่สามารถวัดเป็นรูปธรรมได้
2.    เขียนเป็นประโยคบอกเล่า
3.    ในแต่ละวัตถุประสงค์ต้องมีความกระจ่างชัด และควรมีประเด็นเดียว
4.    ใช้ภาษาที่อ่านง่าย กระชับ ชัดเจน ไม่กำกวม
5.    ระบุพฤติกรรมที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน ถ้อยคำที่นิยมใช้ เช่น การหาค่า... การเปรียบเทียบ... การศึกษาปัจจัย..การวิเคราะห์... การประเมิน... การทดลอง... การสำรวจ... การหาความสัมพันธ์...
6.      วัตถุประสงค์ต้องสอดคล้องกับชื่อเรื่องการวิจัย และสอดคล้องกับความเป็นมาและประเด็น ปัญหาของการวิจัย และตอบคำถามของการวิจัย
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ (2555:3)  ได้กล่าวไว้ว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นการกล่าวถึงปัญหาที่ต้องการทราบว่า ต้องการคำตอบอะไรบ้าง  ควรมีลักษณะดังนี้
1.  ควรเป็นข้อความบอกเล่า
2. วัตถุประสงค์แต่ละข้อควรมีนัยสำคัญเพียงพอ  และมีนัยเดียว  หากมีส่วนประกอบของ
    นัยสำคัญมากกว่า 1 อย่าง  ให้อยู่ในหัวข้อย่อยของวัตถุประสงค์ข้อนั้น
3. ตรงและสอดคล้องกับปัญหาที่ต้องการทำวิจัย 
4. ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการวิจัยทั้งหมด 
5. ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร  กับใคร  ที่ไหน  อย่างไร
6. ไม่ควรเพิ่มเติมประเด็นอื่นๆ ที่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการวิจัยโดยตรง

สรุป
การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นการบอกให้ทราบว่า การวิจัยนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะได้คำตอบอย่างไร  การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยจึงต้องกำหนดให้ชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึงสิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ดังนั้นการกำหนดวัตถุประสงค์จึงต้องสอดคล้องกับปัญหาของการวิจัย ซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์นี้จะเป็นการตอบคำถามของการวิจัยด้วย ซึ่งเกณฑ์การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยมีดังนี้
1.  ควรเป็นข้อความบอกเล่า
2. วัตถุประสงค์แต่ละข้อควรมีนัยสำคัญเพียงพอ  และมีนัยเดียว  หากมีส่วนประกอบของ
    นัยสำคัญมากกว่า 1 อย่าง  ให้อยู่ในหัวข้อย่อยของวัตถุประสงค์ข้อนั้น
3. ตรงและสอดคล้องกับปัญหาที่ต้องการทำวิจัย 
4. ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการวิจัยทั้งหมด 
5. ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร  กับใคร  ที่ไหน  อย่างไร
6. ไม่ควรเพิ่มเติมประเด็นอื่นๆ ที่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการวิจัยโดยตรง
ที่มา :
http://rforvcd.wordpress.com    เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2555.
ลัดดาวัลย์  เพชรโรจน์ และอัจฉรา  ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย . กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการ
         พิมพ์.
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ.  (2555).  เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เค้าโครงการวิจัย. 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น