วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

22.ภาคผนวก (Appendix) (ถ้ามี)

22.ภาคผนวก (Appendix) (ถ้ามี)
บุญชม  ศรีสะอาด  (2554:199)  ได้กล่าวไว้ว่า  ในงานวิจัยบางเรื่องจะมีภาคผนวก ซึ่งเป็นเนื้อหาใจความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องทางใดทางหนึ่งที่เป็นส่วนเสริมให้เนื้อเรื่องมีรายละเอียดกว้างขวางยิ่งขึ้น หรือเป็นส่วนที่แสดงหลักฐานต่างๆ ในการวิจัย ส่วนที่เป็นภาคผนวกอาจได้แก่แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบวัดต่างๆ จดหมาย ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ เครื่องมือในการวิจัย เป็นต้น แต่ไม่ใช่เนื้อหาของรายงานการวิจัย เอกสารใดๆ ก็ดีที่จะบรรจุลงในภาคผนวกนี้ ควรจะทำให้มีขนาดเดียวกับขนาดของกระดาษที่ใช้ ซึ่งอาจใช้วิธีถ่ายเอกสาร หรือพับเอกสารนั้นๆ และควรเว้นเนื้อที่กระดาษเผื่อไว้สำหรับการเย็บเข้าเล่มด้วย กรณีที่มีหลายประเภทควรแยกเป็นภาคผนวก ก. ภาคผนวก ข. ไปตามลำดับ
ภาคผนวกจะมีหรือไม่ แล้วแต่ความจำเป็น ถ้าไม่ต้องจัดไว้ในหน้าต่อไปจากบรรณานุกรม การที่ต้องจัดข้อความบางอย่างไว้ในภาคผนวกนั้นก็เพื่อป้องกันมิให้เนื้อเรื่องของบทนิพนธ์สับสนเกินไป
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ (2555:100)  ได้กล่าวไว้ว่า ภาคผนวก ส่วนนี้เป็นส่วนที่ให้รายละเอียดของการวิเคราะห์ข้อมูล สูตรต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล รายละเอียดของการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนภาคผนวกนี้อาจจะไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานวิจัยแต่ละเรื่อง ซึ่งในส่วนของภาคผนวกนี้อาจจะประกอบด้วยภาคผนวกย่อย ๆ หลายส่วนได้ การเริ่มภาคผนวกย่อยทุกครั้งให้ขึ้นหน้าใหม่
พิสณุ ฟองศรี (2549:63) ได้กล่าวไว้ว่า ส่วนใหญ่ภาคผนวกจะเขียนในรายงานการวิจัย โดยทั่วไปจะมีการเพิ่มจากเค้าโครงการวิจัย เช่น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ผลการทดลองใช้เครื่องมือ รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล รายชื่อผู้เก็บข้อมูล รายละเอียดผลการวิเคราะห์ข้อมูล คำสั่งโปรแกรมวิเคราะห์ ระเบียบ กฎหมาย และภาพถ่าย เป็นต้น ถ้ามีสาระในส่วนนี้มากควรแบ่งเป็นผนวก ก ข ... ตามลำดับ
สรุป
 ในงานวิจัยบางเรื่องจะมีภาคผนวก ซึ่งเป็นเนื้อหาใจความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องทางใดทางหนึ่งที่เป็นส่วนเสริมให้เนื้อเรื่องมีรายละเอียดกว้างขวางยิ่งขึ้น หรือเป็นส่วนที่แสดงหลักฐานต่างๆ ในการวิจัย ส่วนที่เป็นภาคผนวกอาจได้แก่แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบวัดต่างๆ จดหมาย ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ เครื่องมือในการวิจัย เป็นต้น แต่ไม่ใช่เนื้อหาของรายงานการวิจัย เอกสารใดๆ ก็ดีที่จะบรรจุลงในภาคผนวกนี้ ควรจะทำให้มีขนาดเดียวกับขนาดของกระดาษที่ใช้ ซึ่งอาจใช้วิธีถ่ายเอกสาร หรือพับเอกสารนั้นๆ และควรเว้นเนื้อที่กระดาษเผื่อไว้สำหรับการเย็บเข้าเล่มด้วย กรณีที่มีหลายประเภทควรแยกเป็นภาคผนวก ก. ภาคผนวก ข. ไปตามลำดับ
ที่มา :
บุญชม  ศรีสะอาด.  (2554).  การวิจัยเบื้องต้น.  (พิมพ์ครั้งที่ 9).  กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ.  (2555).  เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัยการศึกษา.
พิสณุ ฟองศรี. (2549). วิจัยชั้นเรียน หลักการและเทคนิคปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: ห้าง
         หุ้นส่วนจำกัด พิมพ์งาม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น