วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

16.ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation)/ขอบเขตการทำวิจัย

16.ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation)/ขอบเขตการทำวิจัย
                รวีวรรณ  ชินะตระกูล (2538:51) ได้กล่าวไว้ว่า การทำวิจัยแต่ละเรื่องควรกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้ชัดเจน เพื่อให้งานวิจัยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้และลักษณะของปัญหาที่ต้องการวิจัย ซึ่งได้แก่ การกำหนดขนาดและลักษณะของตัวอย่างประชากร การกำหนดชนิดของเครื่องมือ รวมทั้งลักษณะและขอบเขตของเนื้อหาในเครื่องมือที่ใช้สำหรับงานวิจัย การกำหนดขอบเขตเรื่องที่ศึกษาว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่ต้องการศึกษา
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ (2555:4)  ได้กล่าวไว้ว่า การกำหนดขอบเขตของการวิจัย เป็นการขีดวงจำกัดของการวิจัยว่ามีขอบเขตกว้างขวางลึกซึ้ง  มากน้อยเพียงใด ครอบคลุมถึงอะไรบ้าง  เป็นการกล่าวถึงขอบเขตของประเด็นปัญหาที่ต้องการวิจัย   ทำให้ประเด็นปัญหาชัดเจนขึ้น  การเขียนขอบเขตของการวิจัยควรระบุขอบเขตต่อไปนี้  เช่น
1  ขอบเขตกลุ่มเป้าหมาย  (คือ ประชากร  บางหน่วยงาน/สถาบันให้ระกลุ่มตัวอย่าง)
2  ขอบเขตเนื้อหา  เช่น  วิชาและ/หรือเรื่อง/หัวข้อที่ศึกษา    
3  ขอบเขตพื้นที่หรือสถานที่ทำการวิจัย
4  ขอบเขตเวลา คือ ระยะเวลาการวิจัย  ระยะเวลาการทดลอง 
5  ขอบเขตอื่นๆ  เช่น  การวิเคราะห์ข้อมูล  การใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูล

บุญชม  ศรีสะอาด  (2554:18)  ได้กล่าวไว้ว่า ในการกำหนดปัญหาการวิจัยให้มีความชัดเจนนั้นผู้วิจัยจำเป็นต้องพิจารณากำหนดขอบเขตของปัญหาหรือขอบเขตของ การศึกษาในแง่มุมต่างๆ ด้วยเช่น
1.ขอบเขตของประชากร ซึ่งอาจเกี่ยวกับชนิดของประชากร แหล่งที่มา ประชากร ขนาดประชากร เช่นประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 10
2.ขอบเขตของตัวแปรที่ศึกษา ซึ่งอาจเกี่ยวกับชนิดของตัวแปร โครงร้างหรือองค์ประกอบของตัวแปร เช่น สมรรถภาพของครูคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ด้านความรู้ความเข้าใจเนื้อหาสาระวิชา ด้านความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนการสอน ด้านความสามารถในการสอนและด้านบุคลิกภาพ
3.ขอบเขตของระยะเวลาที่ศึกษา เป็นการกำหนดช่วงเวลาของเรื่องหรือเหตุการณ์ ที่ต้องการศึกษา เช่น การศึกษาครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลในช่วงเดือน กรกฎาคม-กันยายน พ.ศ.2541
สรุป
                การทำวิจัยแต่ละเรื่องควรกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้ชัดเจน เพื่อให้งานวิจัยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้และลักษณะของปัญหาที่ต้องการวิจัย ซึ่งได้แก่ การกำหนดขนาดและลักษณะของตัวอย่างประชากร การกำหนดชนิดของเครื่องมือ รวมทั้งลักษณะและขอบเขตของเนื้อหาในเครื่องมือที่ใช้สำหรับงานวิจัย การกำหนดขอบเขตเรื่องที่ศึกษาว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่ต้องการศึกษา
การเขียนขอบเขตของการวิจัยควรระบุขอบเขตต่อไปนี้  เช่น
1  ขอบเขตกลุ่มเป้าหมาย  (คือ ประชากร  บางหน่วยงาน/สถาบันให้ระกลุ่มตัวอย่าง)
2  ขอบเขตเนื้อหา  เช่น  วิชาและ/หรือเรื่อง/หัวข้อที่ศึกษา    
3  ขอบเขตพื้นที่หรือสถานที่ทำการวิจัย
4  ขอบเขตเวลา คือ ระยะเวลาการวิจัย  ระยะเวลาการทดลอง 
5  ขอบเขตอื่นๆ  เช่น  การวิเคราะห์ข้อมูล  การใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูล
ที่มา:
รวีจรรณ  ชินะตระกูล. (2538).วิธีวิจัยการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ.  (2555).  เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เค้าโครงการวิจัย. 
บุญชม  ศรีสะอาด. (2554) . การวิจัยเบื้องต้น . (พิมพ์ครั้งที่ 9) .กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.



1 ความคิดเห็น: