วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

13. การรวบรวมข้อมูล (Data Collection)

13. การรวบรวมข้อมูล (Data Collection)
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ (2555:39)  ได้กล่าวไว้ว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการวิจัย ผลของการวิจัยจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดีจะทำให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ ย่อมนำมาซึ่งผลการวิจัยที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ หากข้อมูลที่รับมาไม่ถูกต้อง และขาดความน่าเชื่อถือตั้งแต่ต้นแล้ว ถึงแม้จะใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติอย่างไรก็ไม่อาจทำให้ผลการวิจัยมีคุณภาพขึ้นมาได้ การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยนั้น ผู้วิจัยควรจะรวบรวมข้อมูลให้ตรงกับปัญหาที่ทำการวิจัย ข้อมูลที่รวบรวมมานั้นควรมีลักษณะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย สามารถที่จะตอบปัญหาของการวิจัยได้ตามที่กำหนดไว้
บุญชม  ศรีสะอาด  (2554:55)  ได้รวบรวมไว้ว่า ในการรวบรวมข้อมูลควรมีขั้นตอนดังนี้
1. ทำการวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อที่จะได้กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ตรงจุด
2. กำหนดลักษณะของข้อมูล ว่ามีข้อมูลประเภทใดบ้างลักษณะอย่างไร
3. พิจารณาว่าจะใช้เครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ
4. วางแผนในการสร้างเครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูล  โดยกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอนไว้ให้ชัดเจน ตั้งแต่การศึกษาทฤษฏี หลักการในการใช้เครื่องมือประเภทนั้นๆ ศึกษาตัวอย่างเครื่องมือที่คล้ายกัน การเขียนข้อคำถามต่างๆ การให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา การทดลองใช้และคำนวณค่าสถิติที่ชี้คุณภาพ การปรับปรุงข้อความ การนำไปใช้จริง เป็นต้น
5. สร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลตามทฤษฎี หลักการของการสร้างเครื่องมือประเภทนั้นๆ
6. ทดลองใช้เครื่องมือ และหาคุณภาพด้านความเชื่อมั่น ความเที่ยงตรงและคุณภาพด้านอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทนั้นๆ ทำการปรับปรุงจนกว่าจะมีคุณภาพเข้าขั้นมาตรฐาน จึงทำเป็นเครื่องมือที่จะใช้จริง
7. เก็บรวบรวมข้อมูลตามแผนที่ได้กำหนดไว้ในขั้นที่ 4 ใช้เครื่องมือที่จัดทำเป็นมาตรฐานในขั้นที่ 6 ในกรณีที่มีเครื่องมือรวบรวมข้อมูลที่เป็นมาตรฐานที่มีผู้สร้างไว้แล้ว ผู้วิจัยพิจารณาเห็นว่าเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยของตน โดยไม่มีปัญหาด้านการขออนุญาตใช้เครื่องมือดังกล่าว และไม่มีปัญหาด้านความเที่ยงตรง ก็ไม่ต้องใช้ขั้นตอนที่  5  6 และขั้นตอนที่ 4 ก็ตัดแผนเกี่ยวกับการสร้างและปรับปรุงเครื่องมือ
ไพศาล  หวังพานิช (2531:120) ได้กล่าวไว้ว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งของการวิจัย เพราะผลการวิจัยเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับข้อมูลที่รวบรวมมาได้เป็นสำคัญ ทั้งนี้เพราะข้อมูลจะเป็นหลักฐานในการสรุปผลการวิจัยนั้นๆ นั่นเอง ดังนั้นการรวบรวมข้อมูล จึงต้องพิจารณาสิ่งสำคัญต่อไปนี้ คือ
ก.      ความเกี่ยวข้อง (relevance) ข้อมูลที่รวบรวมมาจะต้องเกี่ยวข้องหรือตรงกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย
ข.      ความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ (validity and reliability) ข้อมูลที่ได้มาจะต้องมีความละเอียดเชื่อถือได้
ค.      ความสามารถที่จะได้ข้อมูลนั้นมา (accessibility) สามารถที่จะรวบรวมข้อมูลที่ต้องการได้หรือไม่ มีปัญหาและอุปสรรคมากน้อยเพียงใด
ง.       ความทันต่อเหตุการณ์ (up to date) ข้อมูลที่รวบรวมมาใหม่ทันต่อเหตุการณ์หรือไม่
สรุป
การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการวิจัย ผลของการวิจัยจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดีจะทำให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ ย่อมนำมาซึ่งผลการวิจัยที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ หากข้อมูลที่รับมาไม่ถูกต้อง และขาดความน่าเชื่อถือตั้งแต่ต้นแล้ว ถึงแม้จะใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติอย่างไรก็ไม่อาจทำให้ผลการวิจัยมีคุณภาพขึ้นมาได้ การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยนั้น ผู้วิจัยควรจะรวบรวมข้อมูลให้ตรงกับปัญหาที่ทำการวิจัย ข้อมูลที่รวบรวมมานั้นควรมีลักษณะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย สามารถที่จะตอบปัญหาของการวิจัยได้ตามที่กำหนดไว้ ในการรวบรวมข้อมูลควรมีขั้นตอนดังนี้
1. ทำการวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อที่จะได้กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ตรงจุด
2. กำหนดลักษณะของข้อมูล ว่ามีข้อมูลประเภทใดบ้างลักษณะอย่างไร
3. พิจารณาว่าจะใช้เครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ
4. วางแผนในการสร้างเครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูล  โดยกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอนไว้ให้ชัดเจน ตั้งแต่การศึกษาทฤษฏี หลักการในการใช้เครื่องมือประเภทนั้นๆ ศึกษาตัวอย่างเครื่องมือที่คล้ายกัน การเขียนข้อคำถามต่างๆ การให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา การทดลองใช้และคำนวณค่าสถิติที่ชี้คุณภาพ การปรับปรุงข้อความ การนำไปใช้จริง เป็นต้น
5. สร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลตามทฤษฎี หลักการของการสร้างเครื่องมือประเภทนั้นๆ
6. ทดลองใช้เครื่องมือ และหาคุณภาพด้านความเชื่อมั่น ความเที่ยงตรงและคุณภาพด้านอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทนั้นๆ ทำการปรับปรุงจนกว่าจะมีคุณภาพเข้าขั้นมาตรฐาน จึงทำเป็นเครื่องมือที่จะใช้จริง
7. เก็บรวบรวมข้อมูลตามแผนที่ได้กำหนดไว้ในขั้นที่ 4 ใช้เครื่องมือที่จัดทำเป็นมาตรฐานในขั้นที่ 6 ในกรณีที่มีเครื่องมือรวบรวมข้อมูลที่เป็นมาตรฐานที่มีผู้สร้างไว้แล้ว ผู้วิจัยพิจารณาเห็นว่าเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยของตน โดยไม่มีปัญหาด้านการขออนุญาตใช้เครื่องมือดังกล่าว และไม่มีปัญหาด้านความเที่ยงตรง ก็ไม่ต้องใช้ขั้นตอนที่  5  6 และขั้นตอนที่ 4 ก็ตัดแผนเกี่ยวกับการสร้างและปรับปรุงเครื่องมือ
ที่มา:
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ.  (2555).  เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เค้าโครงการวิจัย. 
บุญชม  ศรีสะอาด.  (2554).  การวิจัยเบื้องต้น.  (พิมพ์ครั้งที่ 9).  กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 
ไพศาล  หวังพานิช (2531). วิธีการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2) . มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น