วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

7.กรอบแนวความคิดในการวิจัย (Conceptual framework)

7.กรอบแนวความคิดในการวิจัย (Conceptual framework)
                รวีวรรณ  ชินะตระกูล (2538:275) ได้กล่าวไว้ว่า การเขียนทฤษฎีหรือแนวความคิดที่ใช้ในการวิจัยเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่จะทำการวิจัยเป็นแนวทางในการทำวิจัยต่อไป ก่อนที่จะเขียนหัวข้อนี้ผู้เขียนจำเป็นต้องอ่านทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่จะศึกษาเป็นจำนวนมากเสียก่อนว่ามีใครเคยทำเรื่องนี้มาบ้าง ถ้ามีใครทำ เขาทำอย่างไร ผลงานวิจัยเป็นอย่างไร แล้วสรุปออกมาเป็นกรอบแนวคิดของผู้วิจัยว่าจะใช้กรอบอย่างไร
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้รวบรวมไว้ว่า กรอบแนวความคิดในการวิจัย เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา
http://www.drmanage.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538654696 ได้รวบรวมไว้ว่า กรอบแนวคิดการวิจัย เป็นการสังเคราะห์หรือบูรณาการแนวคิด ทฤษฎี หลักการตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยที่ผู้วิจัยได้นำมาพัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการวิจัยเรื่องนั้นโดยตรง จุดมุ่งหมายหลักของการสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องก็คือ การพัฒนามาเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual research framework) หรือ ตัวแบบของการวิจัย” (research model) ซึ่งในกรอบแนวคิดหรือตัวแบบของการวิจัยนี้ จะเป็นการพัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยเหตุผลเชิงตรรกะ โดยมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ๆ ทั้งหมดที่ต้องการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีเหตุมีผลรองรับทางวิชาการ ทั้งนี้การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยควรนำมาจากองค์ความรู้ในพาราไดม์ปัจจุบันของศาสตร์นั้น
สรุป
กรอบแนวความคิดในการวิจัย  เป็นการสังเคราะห์หรือบูรณาการแนวคิด ทฤษฎี หลักการตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยที่ผู้วิจัยได้นำมาพัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการวิจัยเรื่องนั้นโดยตรง จุดมุ่งหมายหลักของการสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา
ที่มา :
รวีจรรณ  ชินะตระกูล. (2538).วิธีวิจัยการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2555.
http://www.drmanage.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538654696
            เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2555.



               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น