วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

4. คำถามของการวิจัย (Research Question (s))

4. คำถามของการวิจัย (Research Question (s))
http://rforvcd.wordpress.com  ได้รวบรวมไว้ว่า คำถามของการวิจัย (เค้าโครงศิลปนิพนธ์จะไม่มีหัวข้อนี้) เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น (Problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้ คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถามที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัยต้องการคำตอบมากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มีคำถามรอง (secondary research question) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบเช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่างไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้

สุวิมล ว่องวาณิช (2550: 149-150) ได้กล่าวไว้ว่า คำถามวิจัย(Research Questions) หมายถึง ข้อความที่เป็นประโยคคำถาม ซึ่งแสดงให้เห็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาคำตอบ คำถามวิจัยและประเด็นวิจัย(Research Issues) มีความคล้ายคลึงกัน เช่น  ผู้สนใจศึกษาประเด็นวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญผู้อ่านอาจคาดเดาว่าสิ่งที่ผู้วิจัยสนใจ คือ การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือการวิเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่ปรากฏอยู่ทั่วไป แต่หากปรับเป็นคำถามวิจัย จะทำให้เกิดความชัดเจนในประเด็นที่ศึกษามากขึ้น เช่นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญควรมีลักษณะเช่นใด ประกอบด้วยองค์ประกอบอะไรบ้าง ผลการใช้รูปแบบดังกล่าวส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

 http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-4  รวบรวมไว้ว่า ในการวางแผนทำวิจัยนั้น สิ่งสำคัญอันดับแรก ที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น ก็คือ "การกำหนดคำถามของการวิจัย" (Problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัญหา เป็นส่วนสำคัญของการวิจัย แต่ไม่ได้หมายความว่า ปัญหาทุกปัญหา ต้องทำการวิจัย เพราะคำถามบางอย่าง ใช้ขบวนการในการวิจัย ก็สามารถตอบปัญหานั้นได้
คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question (s) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้
ผู้วิจัย อาจจำเป็นต้องแสดงเหตุผล เพื่อสนับสนุนการเลือก ปัญหาการวิจัยดังกล่าว เพื่อให้โครงร่างการวิจัยนี้ น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

สรุป
คำถามของการวิจัย (เค้าโครงศิลปนิพนธ์จะไม่มีหัวข้อนี้) ในการวางแผนทำวิจัยนั้น สิ่งสำคัญอันดับแรก ที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น ก็คือ "การกำหนดคำถามของการวิจัย" (Problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัญหา เป็นส่วนสำคัญของการวิจัย แต่ไม่ได้หมายความว่า ปัญหาทุกปัญหา ต้องทำการวิจัย เพราะคำถามบางอย่าง ใช้ขบวนการในการวิจัย ก็สามารถตอบปัญหานั้นได้

ที่มา :
http://rforvcd.wordpress.com    เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2555.
 สุวิมล ว่องวานิช. (2550).แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร :
           โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-4 เข้าถึงเมื่อ  25 ธันวาคม 2555.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น