วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

6. สมมติฐาน (Hypothesis)

6. สมมติฐาน (Hypothesis)
                รวีวรรณ  ชินะตระกูล (2538:41) ได้กล่าวไว้ว่า การเขียนสมมติฐานของการวิจัย ผู้วิจัยควรแสดงแนวความคิด และเหตุผลประกอบกับความที่เป็นสมมติฐานในการวิจัย
ลักษณะการตั้งสมมติฐานทางวิจัยที่ดีควรมีดังนี้
1.สมมติฐานที่ตั้งขึ้นควรมีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจง ควรหลีกเลี่ยงคำที่มีความหมายกว้างเกินไป ซึ่งเป็นการยากต่อการที่จะทดสอบ
2.สมมติฐานที่ตั้งขึ้นต้องเป็นสิ่งที่ทดสอบได้
3.สมมติที่ตั้งขึ้นไม่ควรเป็นสิ่งที่ขอบเขตกว้างเกินไป ซึ่งเป็นการยากต่อการทดสอบ และไม่สามารถที่จะสรุปข้อค้นพบให้ตรงกับเป้าหมายของสิ่งที่ต้องการจะศึกษาได้
4.สมมติฐานควรตั้งให้สอดคล้องกับความจริงที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันในเรื่องที่จะศึกษา
ภาษาที่ใช้ในการตั้งสมมติฐานควรเป็นคำพูดที่ง่ายๆ ทั้งนี้เพื่อให้ความหมายเป็นสิ่งที่แจ่มชัดสำหรับคนทั่วไป
บุญชม  ศรีสะอาด  (2554:35) ได้กล่าวไว้ว่า หลักในการเขียนสมมติฐานมีดังนี้
1.ใช้ข้อความที่เฉพาะเจาะจงกะทัดรัด ชัดเจน สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย
2.เขียนสมมติฐานหลังจากที่ได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวของกับการวิจัย ครบถ้วน
3.โดยทั่วไปจะเขียนสมมติฐานก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล แต่มีการวิจัยบางประเภท เช่น การวิจัยเชิงคุณลักษณะที่ผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องตั้งสมมติฐานจากข้อมูลหรือพัฒนามาเป็นทฤษฎี เพื่ออธิบายข้อมูลนั้น
4. เขียนในรูปที่สามารถทดสอบได้จากข้อมูลที่จะไปรวบรวมมา
5.กรณีที่มีความซับซ้อน ควรแยกสมมติฐานออกเป็นข้อๆ ซึ่งในการวิจัยครั้งนั้นจะทำการทดสอบเป็นรายข้อไป
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ (2555 : 6) ได้กล่าวไว้ว่า สมมติฐานการวิจัยเป็นการคาดคะเนคำตอบที่จะได้จากการวิจัยไว้ก่อนล่วงหน้า ควรมีลักษณะดังนี้
                1.  สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
2.  เกี่ยวข้องกับปัญหาและมีความเป็นไปได้
                3.  เป็นข้อความบอกเล่าหรือคำถามก็ได้ ที่แสดงความเป็นเหตุเป็นผลกันระหว่างตัวแปรที่ศึกษา
                4.  ได้มาจากการบททวน ประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้องไม่ใช่การตั้งขึ้นลอยๆ
                5.  ใช้ภาษาง่าย ๆ ไม่กำกวม หลีกเลี่ยงคำที่แสดงถึงคุณภาพ (เช่น ดีมาก น้อย พอ ไม่พอ)
                6.  สามารถทดสอบได้ด้วยวิธีการทางสถิติ
                 การวิจัยบางชนิดหรือบางเรื่อง ที่ไม่สามารถคาดคะเนคำตอบได้ หรือเป็นการวิจัยที่ต้องการแสวงหาความรู้  ข้อเท็จจริง  เช่น การวิจัยเชิงประวิติศาสตร์ การวิจัยแบบวิเคราะห์เอกสาร ไม่จำเป็นต้องมีการสมมติฐาน
สรุป
 การเขียนสมมติฐานของการวิจัย ผู้วิจัยควรแสดงแนวความคิด และเหตุผลประกอบกับความที่เป็นสมมติฐานในการวิจัย
ลักษณะการตั้งสมมติฐานทางวิจัยที่ดีควรมีดังนี้
1.  สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
2.  เกี่ยวข้องกับปัญหาและมีความเป็นไปได้
                3.  เป็นข้อความบอกเล่าหรือคำถามก็ได้ ที่แสดงความเป็นเหตุเป็นผลกันระหว่างตัวแปรที่ศึกษา
                4.  ได้มาจากการบททวน ประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้องไม่ใช่การตั้งขึ้นลอยๆ
                5.  ใช้ภาษาง่าย ๆ ไม่กำกวม หลีกเลี่ยงคำที่แสดงถึงคุณภาพ (เช่น ดีมาก น้อย พอ ไม่พอ)
                6.  สามารถทดสอบได้ด้วยวิธีการทางสถิติ
ที่มา :
รวีจรรณ  ชินะตระกูล. (2538).วิธีวิจัยการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
บุญชม  ศรีสะอาด. (2554) . การวิจัยเบื้องต้น . (พิมพ์ครั้งที่ 9) .กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ.  (2555).  เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เค้าโครงการวิจัย. 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น