วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

17.ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits & Application)

17.ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits & Application)
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/impact1.htm  ได้รวบรวมไว้ว่า
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย เป็นความสำคัญของการวิจัยที่ผู้วิจัยพิจารณาว่าการวิจัยเรื่องนั้น  ทำให้ทราบผลการวิจัยเรื่องอะไร และผลการวิจัยนั้นมีประโยชน์ต่อใคร อย่างไร เช่น การระบุประโยชน์ที่เกิดจากการนำผลการวิจัยไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ หรือนำไปเป็น แนวทางในการปฏิบัติ หรือแก้ปัญหา หรือพัฒนาคุณภาพ หลักในการเขียนมีดังนี้
1. ระบุประโยชน์ที่อาจเกิดจากผลที่ได้จากการวิจัย
2. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และอยู่ในขอบเขตของการวิจัยที่ได้ศึกษา
3. ในกรณีที่ระบุประโยชน์มากกว่า 1 ประการ ควรระบุเป็นข้อ
4. เขียนด้วยข้อความสั้น กะทัดรัด ชัดจน
5. การระบุนั้นผู้วิจัยต้องตระหนักว่ามีความเป็นไปได้
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ (2555:4)  ได้กล่าวถึง  หลักการเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับการวิจัย มีดังนี้
1  เป็นการกล่าวถึงผลที่ได้รับจากการวิจัย จะนำมาใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติจริงสำหรับใคร  อย่างไร
2  ผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการอย่างไร
3  เป็นแนวทางที่จะใช้ในการวิจัยในเรื่องอื่น ๆ ได้อย่างไร
บุญชม  ศรีสะอาด  (2554:19)  ได้กล่าวไว้ว่า ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ในการทำวิจัยแต่ละเรื่องจะต้องทราบว่าเมื่อทำวิจัยเสร็จแล้วจะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างไร ประโยชน์ของการวิจัย อาจใช้ได้ลักษณะ เช่น บางหน่วยงานอาจจะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย ปรับปรุงการเรียนการสอน ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจแก้ปัญหาที่กำลังประสบหรือทำข้อเสนอแนะ เป็นต้น
สรุป
                ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ในการทำวิจัยแต่ละเรื่องจะต้องทราบว่าเมื่อทำวิจัยเสร็จแล้วจะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างไร ประโยชน์ของการวิจัย อาจใช้ได้ลักษณะ เช่น บางหน่วยงานอาจจะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย ปรับปรุงการเรียนการสอน ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจแก้ปัญหาที่กำลังประสบหรือทำข้อเสนอแนะหลักในการเขียนมีดังนี้

1. ระบุประโยชน์ที่อาจเกิดจากผลที่ได้จากการวิจัย
2. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และอยู่ในขอบเขตของการวิจัยที่ได้ศึกษา
3. ในกรณีที่ระบุประโยชน์มากกว่า 1 ประการ ควรระบุเป็นข้อ
4. เขียนด้วยข้อความสั้น กะทัดรัด ชัดจน
5. การระบุนั้นผู้วิจัยต้องตระหนักว่ามีความเป็นไปได้
ที่มา:
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/impact1.htm  เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2555.
อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ.  (2555).  เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เค้าโครงการวิจัย. 
บุญชม  ศรีสะอาด. (2554) . การวิจัยเบื้องต้น . (พิมพ์ครั้งที่ 9) .กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น