วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

3.ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures)

3.ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures)
ลัดดาวัลย์  เพชรโรจน์ และอัจฉรา  ชำนิประศาสน์ (2547:46 - 47) ได้กล่าวไว้ว่า ในการเขียนวรรณกรรมที่ค้นมาได้ให้เชื่อมโยงเป็นสาระเดียวกันนั้น เป็นเรื่องยากและต้องฝึกฝนอย่างมาก ผู้วิจัยควรอ่านลีลาการเขียนของนักวิจัยอื่นๆด้วย โดยไม่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของแต่ละตอน การเชื่อมโยงเข้าหากันอาจจะกล่าวว่าสาระที่นำเสนอนั้นสอดคล้อง หรือขัดแย้งกับกับสาระอื่นๆของผู้แต่งคนอื่นอย่างไร ซึ่งมุมมองอาจไม่เหมือนกัน แต่อาจมีทฤษฎีที่รองรับเหมือนกัน เมื่อเสนอสาระหมดแล้วควรขมวดตนท้ายว่า วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดนี้ ผู้วิจัยนำมาเป็นกรอบแนวคิดทฤษฎีในการทำวิจัยเรื่องนี้อย่างไรบ้าง จะทำให้การค้นวรรณกรรมมีประโยชน์มากขึ้น
การนำเสนอสาระในวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง มักนิยมจัดเป็นหมวดๆดังนี้
1.ความหมายของคำสำคัญที่ปรากฏ โดยสรุปว่าใครกล่าวให้ความหมายไว้อย่างไรบ้าง ซึ่งอาจจะเหมือนกัน คล้ายคลึงกัน แล้วผู้วิจัยสรุปว่าในงานวิจัยชิ้นนี้จะหมายความว่าอย่างไร
2.แนวคิดเรื่องที่ทำการวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปร และกรอบแนวคิดอะไรบ้าง เช่น แนวคิดของการมีส่วนร่วมคือ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมติดตามประเมินผลเป็นต้น และเมื่อนำเสนอในแต่ละตอนจะต้องมีสรุปท้ายเรื่องทุกหัวข้อ ว่าการวิจัยครั้งนี้มีตัวแปรอะไร กรอบแนวคิดอะไร
3.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษามีอะไรบ้าง ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการยืนยันทฤษฎีหรือไม่ ถ้าใช่ จะยืนยันทฤษฎีอะไร หากมีหลายๆทฤษฎีผู้วิจัยต้องสรุปว่าจะนำทฤษฎีอะไรมาสนับสนุนบ้าง ถ้าไม่มีทฤษฎีต้องมี Model หรืองานวิจัยมาสนับสนุน
4.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งงานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ได้ทราบว่ามีงานวิจัยใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัย ข้อค้นพบของงานวิจัยแต่ละเรื่อง ต้องสรุปให้เป็นหมวดหมู่ชัดเจน

บุญชม  ศรีสะอาด  (2554:25) ได้กล่าวไว้ว่า การเขียนรายงานเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีข้อเสนอแนะดังนี้
1.เสนอแนวคิดตามทฤษฎี แล้วจึงเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อาจแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยลงไป ไม่ควรนำเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยมาเขียนไว้
2.แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของเรื่องที่จะวิจัยนั้น กับผลการศึกษาค้นคว้าของคนอื่นในหัวข้อเดียวกัน
3.อธิบายปัญหาหรือสถานการณ์ที่ยังมีข้อสงสัย และความรู้ที่เป็นปัจจุบันในหัวข้อที่วิจัย
4.ไม่ควรใช้วิธีนำเอาผลวิจัยของแต่ละคนมาเรียงต่อๆกัน ผู้วิจัยจะต้องมีเค้าโครงการเขียนของตนเองโดยใช้หลักตามข้อ 1
5.กรณีที่มีการศึกษาขัดแย้งกัน ผู้วิจัยควรบรรยายทฤษฎีแต่ละทฤษฎีแล้วเสนอการอ้างอิง รวมทั้งผลงานวิจัยที่สนับสนุนแต่ละทฤษฎี
6.ใช้การวิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัย การวิเคราะห์คือการแยกแยะจัดเข้าหมวดหมู่ชี้ความสัมพันธ์และจุดเด่นหรือจุดสำคัญ ส่วนการสังเคราะห์เป็นการนำเอาตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป มาประกอบกันเป็นสิ่งใหม่เนื้อใหม่ อาจสังเคราะห์เชิงคุณลักษณะ (Qualitative) หรือสังเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative) ดังเช่น เทคนิคของ Meta Analysis เป็นต้น
http://rforvcd.wordpress.com  ได้รวบรวมไว้ว่า การทบทวนวรรณกรรม เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดำเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วย โดยจัดลำดับหัวข้อหรือเนื้อเรื่องที่เขียนตามตัวแปรที่ศึกษา และในแต่ละหัวข้อเนื้อเรื่องก็จัดเรียงตามลำดับเวลาด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นพัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหา นอกจากนี้ผู้วิจัยควรจะต้องมีการสรุปไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นความสัมพันธ์ทั้งส่วนที่สอดคล้องกัน ขัดแย้งกัน และส่วนที่ยังไม่ได้ศึกษาทั้งในแง่ประเด็น เวลา สถานที่ วิธีการศึกษาฯลฯ การเขียนส่วนนี้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการตั้งสมมติฐานด้วย
สรุป
                การทบทวนวรรณกรรม เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดำเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วย โดยจัดลำดับหัวข้อหรือเนื้อเรื่องที่เขียนตามตัวแปรที่ศึกษา และในแต่ละหัวข้อเนื้อเรื่องก็จัดเรียงตามลำดับเวลาด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นพัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหา นอกจากนี้ผู้วิจัยควรจะต้องมีการสรุปไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นความสัมพันธ์ทั้งส่วนที่สอดคล้องกัน ขัดแย้งกัน และส่วนที่ยังไม่ได้ศึกษาทั้งในแง่ประเด็น เวลา สถานที่ วิธีการศึกษาฯลฯ การเขียนส่วนนี้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการตั้งสมมติฐานด้วย
การนำเสนอสาระในวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง มักนิยมจัดเป็นหมวดๆดังนี้
1.ความหมายของคำสำคัญที่ปรากฏ โดยสรุปว่าใครกล่าวให้ความหมายไว้อย่างไรบ้าง ซึ่งอาจจะเหมือนกัน คล้ายคลึงกัน แล้วผู้วิจัยสรุปว่าในงานวิจัยชิ้นนี้จะหมายความว่าอย่างไร
2.แนวคิดเรื่องที่ทำการวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปร และกรอบแนวคิดอะไรบ้าง เช่น แนวคิดของการมีส่วนร่วมคือ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมติดตามประเมินผลเป็นต้น และเมื่อนำเสนอในแต่ละตอนจะต้องมีสรุปท้ายเรื่องทุกหัวข้อ ว่าการวิจัยครั้งนี้มีตัวแปรอะไร กรอบแนวคิดอะไร
3.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษามีอะไรบ้าง ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการยืนยันทฤษฎีหรือไม่ ถ้าใช่ จะยืนยันทฤษฎีอะไร หากมีหลายๆทฤษฎีผู้วิจัยต้องสรุปว่าจะนำทฤษฎีอะไรมาสนับสนุนบ้าง ถ้าไม่มีทฤษฎีต้องมี Model หรืองานวิจัยมาสนับสนุน
4.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งงานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ได้ทราบว่ามีงานวิจัยใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัย ข้อค้นพบของงานวิจัยแต่ละเรื่อง ต้องสรุปให้เป็นหมวดหมู่ชัดเจน
ที่มา :
ลัดดาวัลย์  เพชรโรจน์ และอัจฉรา  ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการ
           พิมพ์.
บุญชม  ศรีสะอาด. (2554) . การวิจัยเบื้องต้น . (พิมพ์ครั้งที่ 9) .กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
http://rforvcd.wordpress.com    เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2555.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น